วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

รถ DUCATI Mark 3 ปี 1968


รถ DUCATI Mark 3 ปี 1968



สายพันธุ์แรงจากสนามแข่ง


เรื่องราวของรถสักยี่ห้อที่เดินผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน และยังสามารถยืนหยัดมาถึงทุกวันนี้ได้นั้นย่อมไม่ธรรมดา แน่นอนครับ Ducati รถสายพันธุ์แรงตั้งแต่กำเนิด Ducati เริ่มเข้าสู่วงการยานยนต์เมื่อ ปี 1945 โดยละทิ้งอาชีพเก่าคือการผลิดชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิคส์ หลังจาคสงครามโลกครั้งที่ 2 ครั้งแรกนั้น Ducati ผลิดรถที่มีเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ขนาด 48 ซีซี และ 65 ซีซี แล้วนำมาติดตั้งในรถคันแรกของตัวเองในปี 1950 หลังจากนั้นไม่กี่ปี Ducati ได้พัฒนารถอีกหลายรุ่น และลงแข่งขันในรายการสำคัญ ๆ หลายรายการ และก็ได้รับชัยชนะหลายรายการเช่นกัน ทำให้ Ducati มีชื่อเสียงขึ้นมาแบบทันตาเห็น ความแรงจึงเป็นโลโก้ของ Ducati ไปโดยปริยาย

ในปี 1954 Fabio Taglioni นักออกแบบรถชื่อดังได้เข้ามาในสังกัดของ Ducati และได้สร้างเครื่องยนต์สูบเดียวเเคมชาฟท์ที่ขับตรงผ่านชุดเฟืองบิด (Bevel Shaft) และได้สร้างชื่อให้กับ Ducati เป็นอย่างมาก และทำให้ Ducati โดดเด่นมากในเรื่องนี้ Fabio Taglioni ก็ยังไม่หยุดพัฒนา เขาคิดค้นระบบ Desmo ขึ้นมาอีก ระบบนี้คือระบบ ปิด/เปิด วาล์อัจฉริยะ Fabio Taglioni เพิ่มก้านกดวาล์วขึ้นอีก 1 ตัว ทำหน้าที่ดันกลับปิดวาล์วแทนสปริง ทำมันให้ผลเรื่องความแม่นยำในรอบเครื่องยนต์ที่สูงมาก ๆ ตัดปัญหาเรื่องของความไม่คงที่ ที่เกิดจากความล้าของสปริง ซึ่งจะลดทอนลงเรื่อย ๆ ในระยะทางที่เพิ่มขึ้น

เกริ่นนำมายาวแล้ว เข้าเรื่องดีกว่าครับ วันนี้เราจะนำเสนอรถ Ducati 250 Mark 3 ปี 1968 นั้นถูกผลิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1965 ซึ่งออกมาทั้งหมดให้เลือกใช้ตั้งแต่รุ่น 250 / 350 / 450 ซึ่งรุ่น 450 นั้น Ducati ส่งขายให้กับอเมริกา ในรุ่น 250 / 350 / 450 Ducati มีให้เลือกใช้ทั้งระบบแบบ Bevel Shaft และ Desmo ซึ่ราคาขายนั้น ระบบ Desmo จะแพงกว่าซึ่งบ้านเรานั้นระบบ Desmo นั้นหาตัวได้ยากมากเรียกว่านับคันได้เลย รูปทรงที่ให้มานั้นคล้ายกับตัวแข่งในสนาม ไฟหัวกระสุน แฮนด์ ดร๊อป ถังน้ำมันยาวแบบหลบเข่า มีฝาน้ำมัน 2 ฝา

เครื่องยนต์สูบเดียว 250 ซีซี ระบายความร้อนด้วยอากาศ ใช้ระบบเฟืองบิด (Bevel Shaft) ปริมาตรกระบอกสูบ 248.5 ซีซี ช่วงชัก 57.8 มม. กำลังอัด 10 : 1 แขวนอยู่บนเฟรมแบบ Wide Case ใช้แบตเตอรี่ในการจุดระเบิด เกียร์ 5 สปีดอยู่ฝั่งขวา ขับเคลื่อนด้วยโซ่ คลัตช์แบบเปียกหลายแผ่นซ้อนกัน คาร์บูเรทเทอร์ของ Dellorto ถ้วยแยก ระบบกันสะเทือนหน้าแบบเทเลสโทปิค ระบบกันสะเทือนหลังแบบสวิงอาร์มโช้คน้ำมัน แบบปรับตั้งได้ ขนาดวงล้อหน้า และหลัง ขอบ 18 ทั้งคู่ เบรกซ้าย คันสตาร์อยู่ฝั่งซ้าย ระบบเบรกทั้หน้า และหลังแบบดรัมเบรก ท่อไอเสียออกฝั่งขวา ในเรื่องของความแรงนั้น Ducati ไม่เป็นรองไครแน่นอนครับ
จากThailand Claccic Vol.28

รถ1953 BMW R67/2 withSteib S350

รถ1953 BMW R67/2 withSteib S350รถ1953 BMW R67/2 withSteib S350
หน้ากระบอก 6 แรง กับ 'ไซด์บอลลูน'

แบรนด์ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์อย่าง BMW นั้นถูกจัดเรทติ้งไว้ในอันดับต้นๆ สำหรับ "คอโบราณ" ที่คลั่งไคล้ "มนตร์ดำนาซี" รถบาวาเรียนค่ายที่เสน่ห์แรงเหลือเกิน...R67 รถ 2 สูบหน้ากระบอกไม่กี่คันที่เคยมีโอกาสได้เห็นตัวเป็นๆ ยังคงตรึงใจ เส้นสายที่สวยงาม บนโครงสร้างเฟรมหลังสไลด์นั้น ถูกถ่ายทอดลงตัวรับกันตลอดทั้งคัน แถมการปรากฏตัวดังกล่าวยังคงหอบหิ้วซี้เก่า เป็น "พ่วงข้าง" สัญชาติเดียวกันที่เออออที่พร้อม...ร่วมหอ...!

"ตั้ม ลีดูฯ" สถาปนิกหนุ่มที่พิสมัยรถแบรนด์นี้จนต้องกัดฟันถอยมาเก็บไว้ในคอลเลกชั่นเพิ่มเติม มันเป็นจังหวะจะโคนที่ลงตัวกว่าใครเพื่อน หลัง "ต้นเรื่อง" คู่นี้ต่างตกเป็นเป้าสายตาจาก "เสี่ยกระเป๋าหนัก" ที่พร้อมเกทับด้วยธนบัตรเป็นมัดๆ...และ...หากเป็นเช่นนั้น "เรา" อาจไม่มีโอกาสได้เห็นรูปธรรมของรถ 6 แรง เวอร์ชั่นนี้ผ่านเข้ามาในความทรงจำ เราภาวนาหนุนหลัง...ก่อน...สมหวังในวันนัด หลังให้เวลาเจ้าของรายใหม่ได้เก็บเนี๊ยบอยู่เกือบ...อาทิตย์...!

รถ 2 สูบนอนยันเครื่องโอเวอร์เฮดวาล์วของ BMW รุ่น หน้ากระบอก หลังสไลด์ นั้นเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในปี 1938 ด้วยรุ่น R51 เครื่องยนต์ขนาด 494 ซี.ซี. และขนาด 594 ซี.ซี. ในรุ่น R66 โครงสร้างเฟรมท่อกลมเปลคู่แบบใหม่นี้ ถือเป็นเจเนอเรชั่นที่ 5 ที่ทาง BMW เลือกจะถ่ายทอดสู่รถตลาดที่การแข่งขันกำลังแรงจัด ครั้นสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 รถ "วาล์วบนหัว" กลับมาเกิดใหม่หลังปล่อยให้ร้างจากผลพวงแห่งความพ่ายแพ้ต่อสงครามในฐานะ "ฝ่ายอักษะ"...1951 เครื่องยนต์พื้นฐานของ R66 ได้รับการปัดฝุ่นและพัฒนามันจนเกิดโมเดลใหม่อย่าง R67 ซึ่งรถตลาดไลน์ก็เริ่มทำยอดขายทันทีที่ออกตัว ในปีถัดมา R67/2 ถูกปรับใหม่อีกครั้ง เครื่องยนต์ขนาด 594 ซี.ซี. ที่ได้รับการปรับแต่งให้ทำงานได้ราบเรียบยิ่งขึ้น กำลังอัดใหม่ที่ 6.5:1 กับแรงม้าที่เพิ่มขึ้นอีก 2 แรงม้าที่ 5,600 รอบ/นาที (R67 กำลังอัด 5.6:1/ 26 แรงม้าที่ 5,500 รอบ/นาที) คือจุดไฮไลต์ และเมื่อเครื่องยนต์มีพละกำลังที่เพิ่มมากขึ้น ชุดเกียร์ส่งกำลังแบบ 4 สปีดจึงต้องถูกปรับให้มันรับกัน ด้วยเพืองเกียร์ 1 ใหม่ ที่ให้อัตราเร่งรอบต้นที่ดีขึ้น แต่ยังคงชุดเฟืองเกียร์ 2-3-4 อย่างต้นฉบับเพราะเห็นว่าลงตัวกันอยู่แล้ว

R67/2 นั้น เกิดขึ้นในช่วงปี 1952-1954 และโปรดักต์ที่เกิดขึ้นในไลน์ทั้งสิ้น 4,234 คัน ถูกจำหน่ายไปทั่วทุกมุมโลก และถือเป็นโมเดลที่สร้างความสำเร็จให้ BMW อย่างที่ต้องการ ในล็อตนี้ความน่าสนใจยังคงถูกจัดแบ่งในรถรุ่นปี 1953 ที่ยังคงระบบเบรกหน้า/ หลัง ชนิดดรัมเบรกแบบเสี้ยวขนาด 200 มม. ที่วางบนกระทะล้อเหล็กขนาด 19 นิ้ว ทว่า ในปีถัดมากลับถูกแทนที่ด้วยดุมเบรกแบบเต็มในโมเดลปี 1954 ที่ทำออกมาอีกกว่าพันคัน...และยังคงเป็นไปตามคาดเดา "รถดุมเต็ม" ขนาด 6 แรง ที่ลองทำตลาด กลับได้รับการขานตอบเป็นอย่างดี จนโรงงานต้องเปิดไลน์การผลิตให้ R67/3 ทำตลาดต่ออีก 700 คัน โดยปรับในส่วนของโมเดลลากไซด์ ที่ใช้ล้อหลังขนาด 18 นิ้ว บนหน้ายางขนาด 4.00/ 18 (เดิม 3.50/19)

Steib แบรนด์ผู้ผลิตไซด์คาร์อันดับต้นๆ สำหรับรถจักรยานยนต์ที่ผลิตขึ้นในเยอรมนี โดยเฉพาะ BMW นั้นคือพันธมิตรหลักที่ทำการส่งมอบให้เป็นออปชั่น S350 บ้านเราขนานนามว่า "ไซด์บอลลูน" พ่วงข้างขนาดกะทัดรัดที่เพิ่มอรรถประโยชน์ในการเดินทาง โครงสร้างที่ได้รับการออกแบบให้ติดตั้งได้อย่างง่ายดายในโมเดลรถ 2 สูบนอนทั้ง 5 และ 6 แรง เฟรมท่อกลมยึด 4 จุดที่วางบนระบบโช้คอัพแบบ 3 จุดนั้นนิ่มนวลใช้ได้...2 ตัวนอนประคองด้านหลังของไซด์ขึ้น/ ลง ตามแรงสั่นไหว ในขณะที่อีกตัวอาสารับแรงในแนวตั้งฉากจากแรงกดที่แกนล้อไซด์ และ S350 ไม่เน้นเรื่องบรรทุก จึงไร้กล่องเก็บสัมภาระด้านท้ายอย่างรุ่น S500 มีเฉพาะตะแกรงซี่ที่ติดตั้งล้ออะไหล่เท่านั้น และหากติดตั้งควบคู่กัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนขนาดของเฟืองเพลาขับจากเดิมที่ 9/32 ฟัน เป็น 8/35 ฟัน จึงจะได้พละกำลัง...ตามสูตร!!!

Specification
รถ/ รุ่น 1953 BMW/ R67/2 Side Car Steib S350
ปีผลิต 1952-1954
จำนวนผลิต 4,234 คัน
เจ้าของ ตั้ม LE-DO
เครื่องยนต์ 2 สูบนอนยัน 4 จังหวะ 594 ซี.ซี. 28 แรงม้าที่ 5,600 รอบ/นาที
ระบบไฟ Noris 6 VL 45/60L
คาร์บูเรเตอร์ 2 X BING 1/24/15-1/24/16
ระบบเกียร์ 4 เกียร์
ระบบคลัตช์ แห้ง (แผ่นเดียว)
ระบบขับเคลื่อน เพลา 9/32 ฟัน (Side car 8/35)
ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง) เทเลสโคปิค/ สไลด์
ระบบเบรก (หน้า/หลัง) ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว / บนล้อ 19 นิ้ว)
ความเร็วสูงสุด 110 ไมล์/ชม. (145 กม./ชม.)
อ้างอิง : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHEEL / Roland Brown
: BMW PROFILE 1923-1969/ BMW MANUFACTURING MUNICH
จากhttp://www.grandprixgroup.com/

ข้อมูลต่างๆมาจาก กลุ่มอนุรักษ์รถโบราณเมืองไชยา

ประวัติรถสองท่อยอดฮิต


ประวัติรถสองท่อยอดฮิต ที่มีชื่อเรียกหลายชื่อตามแต่ละภาค. ภาคกลางเรียกหมู. ภาคใต้บางจังหวัดเรียกสองท่อหัวดำ. นครศรี พัทลุง ตรัง กระบี่ เรียก ไอ้ทอม เพราะเมื่อก่อนทอมดันดีขับรุ่นนี้เลยเรียกกันติดปากมาดูประวัติกันเล

Honda C95 ถูกส่งข้ามน้ำข้ามทะเล จากดินแดน ปลาดิบ มาถึงสยามประเทศ ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2504 โดยมีบริษัท “ยังเต็งซือ” ที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย รายแรกในดินแดน สยามประเทศของเรา Honda C95 ที่มีพิกัดความจุ 150 ซีซี ถือว่าเป็นรถจักรยานยนต์ตัวผู้ รุ่นแรกจากค่ายปีกนก เข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการใน สยามประเทศ อีกด้วย ต่อจากนั้น จึงมีการนำ Honda C92 ที่มีพิกัดความจุ 125 ซีซี เข้ามาทำตลาด แข่งขันกับทาง K125 จาก Suzuki เพื่อนร่วมชาติ



Honda C95/C92 เป็น รถจักรยานยนต์ อีกหนึ่งรุ่น ที่ได้รับความนิยม อย่างมาก ตั้งแต่ในอดีต จน ถึงปัจจุบัน เรียก ว่าจากรุ่นพ่อ มาจนถึงรุ่นลูกแล้ว สมัยก่อนเคยเห็น มีการนำรถจักรยานยนต์รุ่นนี้ไป บรรทุกสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะสุกร หรือหมู จากฟาร์ม มาขาย ซึ่งบ่อยครั้งที่เห็นจนชินตา จึงทำให้ Honda C95/C92 มีชื่อเรียก อย่างไม่เป็นทางการว่า “ฮอนด้า หมู” ด้วยรูปทรง ที่แข็งแรง ประกอบด้วยถังน้ำมันใบเขื่อง เข้ากับไฟหน้ารูปสี่เหลี่ยม ที่ง่ายแก่การจดจำ
Honda Motor ประเทศญี่ปุน เริ่มผลิต รถจักรยานยนต์ ที่ใช้ชื่อรหัสว่า C95 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 และพัฒนา โดยปรับเปลี่ยน และดัดแปลงทำเป็นแบบ ต่างๆ อีก หลายแบบ โดยยึดหลักโครงสร้างตัวรถ และเครื่องยนต์เดิม เช่น CS95 หรือ C95 Benly



Honda C95 Benly ผลิตขึ้นในปี ค.ศ.1966 ใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 2 สูบเรียงระบายความร้อน ด้วยอากาศ ใช้คาร์บูเรทเตอร์ ของ Kehin 1ตัวทำหน้าที่ผสมอากาศ และเชื้อเพลิง ส่งผ่านระบบ วาว์ล แบบ OHC เข้าสู่ห้องเผาไหม้ที่มีขนาด พิกัดความจุกระบอกสูบ 154 ซีซี จุดระเบิด ด้วยคอยล์ มีหน้าทองขาวทำหน้าที่ควบคุม โดยใช้แบตเตอรี่ ขนาด 6 โวลท์ เป็นตัวช่วย ระบบเกียร์แบบ สลับ 4 สปีด ตัดแรงด้วยชุด คลัชต์แบบเปียก หลายแผ่นซ้อนกัน ก่อนที่จะถ่ายแรงไปล้อหลังโดย โซ่ ขนาด 428H ล้อหลังและล้อหน้าทำจากเหล็ก มีขนาด 1.60 x 16 นิ้ว รัดด้วยยาง ขนาด 3.00 นิ้ว เท่ากัน ระบบห้ามล้อ หน้า และหลัง เป็นแบบ ดรัมเบรค ระบบกันสะเทือนด้านหน้า เป็นแบบ คานสวิง โช้คน้ำนันคู่ หรือที่เรียกว่า “ขาไก่” ส่วนด้านหลัง เป็นแบบ สวิงอาร์ม โช้คน้ำมันคู่(ทรงเหลี่ยม) ท่อไอเสีย แบบ 1:1 แยกอิสระ โครงตัวรถ แบบแผ่นเหล็กปั้ม ชึ้นรูป เชื่อมประกบ เช่นเดียวกับ แฮนด์ทรงปีกนก โดยปกติ รถรุ่น C95 แฮนด์จะเป็นท่อเหล็กกลม เหมือนในรถจักรยานยนต์ ทั่วๆไป

*** ข้อมูลจากนิตยสารไทยแลนด์ คลาสสิค ฉบับที่ 29 คอลัมน์ Classic Show Off

ประวัติ มอเตอร์ไซค์ คุรุสภา

ประวัติ มอเตอร์ไซค์ คุรุสภา


ถ้าจะถามว่า "คุรุสภา" คืออะไร ก็อาจจะได้คำตอบที่ชวนงงอยู่ไม่น้อย เพราะคุรุสภาไม่ใช่หน่วยราชการ ไม่ใช่ธุรกิจเอกชน ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ แต่ที่ระบุได้คือ คุรุสภาเป็นนิติบุคคล สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติครู 2488

หน้าที่โดยหลักของคุรุสภาคือให้คำปรึกษาและความคิดเห็นแก่กระทรวงศึกษาธิการในเรื่องนโยบายการศึกษาทั่วไป ส่งเสริมฐานะของครูในทางความรู้ ความประพฤติความเป็นอยู่ของครู และรักษาประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครูให้มั่นคง
ที่น่าสนใจคือ ครูทุกคนไม่ว่าในภาครัฐบาล ภาคเอกชน ขึ้นชื่อว่าครูแล้ว ต้องเป็นสมาชิกคุรุสภา ต้องเสียค่าบำรุงคนละ 50 บาทต่อปีหรือคนละ 500 บาทตลอดชีพ

จำนวนสมาชิกคุรุสภาเท่าที่สำรวจล่าสุดประเมินว่าราวๆ 790,000 คน แม้ว่าในตัวเลขเกือบ 8 แสนคนนี้จะไม่ใช่ครูเสียทั้งหมดเพราะมีสมาชิกสมทบ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่กับวิชาชีพครูอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าข้าราชการครูเป็นกลุ่มข้าราชการกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด คือประมาณครึ่งหนึ่งของข้าราชการทั้งประเทศ
ภาระหน้าที่ของคุรุสภาจึงดูยิ่งใหญ่เหลือคณาเอาเสียจริงๆ

หน้าที่ประการหนึ่งที่คุรุสภาจัดทำต่อเนื่องมาและได้รับความสนใจจากครูอย่างดียิ่ง เห็นจะได้แก่ การจัดสวัสดิการครูนอกเหนือจากเงินเดือนและสวัสดิการที่รัฐให้แก่ครูเป็นปกติอยู่แล้ว บริการด้านนี้ของคุรุสภามีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น ร้านค้าในเครือเพื่อบริการสมาชิกคุรุสภา ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 100 แห่ง, การจัดสวัสดิการเคหะสงเคราะห์ หรือโครงการจัดสรรบ้านพร้อมที่ดินนั่นเอง, โครงการบัวหลวงเพื่อครูเพื่อซื้อและปลูกบ้าน, การช่วยเหลือสมาชิกและครอบครัวของสมาชิกที่ถึงแก่กรรม, สถานพยาบาลของคุรุสภา, หอพักคุรุสภา, โครงการสินค้าสวัสดิการเพื่อสมาชิก เป็นต้น

โดยเฉพาะโครงการสินค้าสวัสดิการเพื่อสมาชิกนี่เองที่จัดทำมาหลายโครงการแล้ว ขายสินค้าสารพัดชนิด ตั้งแต่ จักรเย็บผ้า, เครื่องออกกำลังกาย, เครื่องกรองน้ำ, เครื่องดนตรี, รถจักรยาน 2 ล้อ, เครื่องพิมพ์ดีดกระเป๋าหิ้ว เป็นต้น

โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2526 เมื่อคุรุสภาต้องการช่วยเหลือครูที่ต้องเดินทางไปกลับระหว่างโรงเรียนกับที่พัก โดยเฉพาะครูในท้องถิ่นทุรกันดาร คุรุสภาจึงจะจัดหามอเตอร์ไซค์ให้ครูซื้อในราคาถูกกว่าท้องตลาด หรือถ้าผ่อนก็ต้องผ่อนถูกกว่าที่อื่นๆ

คุรุสภาโดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมสวัสดิการของคุรุสภาได้ขอความร่วมมือไปยังบริษัทผู้ประกอบและจำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ทุกเจ้า แต่ก็ได้รับคำตอบมาเพียงรายเดียวคือบริษัทสยามยามาฮ่า จำกัด

เข้าใจว่าตอนนั้นบริษัทผู้จำหน่ายมอเตอร์ไซค์อื่นๆ ยังไม่มีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ช่วงนั้นเราได้รับความช่วยเหลือมากจากคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ที่เข้าใจและเห็นใจเรื่องความเดือดร้อนของครู

สยามยามาฮ่าให้ความร่วมมือโดยขายมอเตอร์ไซค์รุ่น Y 80 MATE ให้ครูผ่านคุรุสภาในราคาเพียง 14,800 บาท ในขณะที่ราคาท้องตลาดยืนอยู่ที่ 18,000 บาท

จำนวนรถที่คุรุสภาตั้งเป้าไว้คือ 5,000 คัน จำนวนรถที่มากเช่นนี้ทำให้ราคารถต่ำกว่าราคาท้องตลาด อีกทั้งเป็นราคาที่ตั้งโดยผู้ผลิตโดยตรง ส่วนเรื่องเงินเชื่อที่จะให้ทางครูผ่อนชำระนั้น ทางคุรุสภาได้ขอความช่วยเหลือไปยังสถาบันการเงินเกือบทุกแห่งแต่ก็มาลงเอยที่ธนาคารทหารไทย ซึ่งให้ดอกเบี้ยต่ำที่สุดคือ 16.5% ไม่มีเงินดาวน์ ให้ผ่อนชำระเดือนละ 790 บาท เป็นเวลา 24 เดือน รวมเงินผ่อนทั้งหมด 18,960 บาทเท่านั้น

นอกจากนี้ทางธนาคารทหารไทยยังได้กำหนดให้ผู้กู้ซื้อรถต้องทำประกันด้วย คุรุสภาก็ได้รับความร่วมมือจากบริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด โดยคิดเบี้ยประกันเพียงรายละ 200 บาท ให้ความคุ้มครองชีวิตเป็นเวลา 24 เดือน หรือตลอดระยะเวลาการผ่อนชำระนั่นเอง ด้วยข้อเสนอและเงื่อนไขที่ค่อนข้างดีมากๆ เช่นนี้ จากจำนวนรถที่ตั้งเป้าไว้เพียง 5,000 คัน ยอดสั่งจองกลับพุ่งไปที่ 30,000 คัน

ซึ่งเป็นเรื่องคาดไม่ถึงว่าจำนวนความต้องการของครูจะมากมายถึงขนาดนี้ เพราะทางคุรุสภาเพิ่งจัดทำเพียงโครงการแรก ที่ได้ตกลงกับทางสยามยามาฮ่าคือ 5,000 คันเท่านั้น ส่วนที่เหลือก็ต้องรอไปโครงการต่อไป

จนถึงโครงการที่ 2 ดำเนินไปเช่นโครงการแรก บริษัทและธนาคารยังเป็นเจ้าเดิม เนื่องจากเสนอเงื่อนไขเป็นที่พอใจแก่คุรุสภา มีเพียงตัวเลขเท่านั้นที่แปรเปลี่ยนตามภาวะเศรษฐกิจ เช่น ราคารถที่ขึ้นไป ทำให้ธนาคารทหารไทยต้องตั้งวงเงินกู้เพิ่มเป็น 17,500 บาท กำหนดผ่อนชำระ 865 บาท 24 งวด ในอัตราดอกเบี้ย 16.5%

โครงการที่ 2 ตั้งเป้าไว้ 8,000 คัน แต่เอาเข้าจริง ทางสยามยามาฮ่าก็ต้องเอื้อเฟื้อให้คุรุสภาไปถึง 10,000 คัน

โครงการที่ 3 ก็ยังเหมือนเดิมเกือบทุกอย่าง แต่ตัวเลขจำนวนรถที่ขายผ่านคุรุสภาลดไปที่ 8,000 คัน

แล้วก็มาถึงโครงการที่ 4 ในปี 2531 เมื่อ เอ.พี.ฮอนด้าเข้าเสนอเงื่อนไขแก่คุรุสภาด้วยหลังจากที่สยามยามาฮ่ากวาดไปแล้ว 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น 23,000 คัน
เอ.พี.ฮอนด้าได้รับการคัดเลือกจากคุรุสภาให้เป็นผู้จำหน่ายรถผ่านคุรุสภาในโครงการที่ 4 นี่เอง

ในโครงการที่ 4 เอ.พี.ฮอนด้าเสนอฮอนด้า ดรีม 100 ในราคา 20,950 บาท สำหรับธนาคารก็เปลี่ยนจากธนาคารทหารไทยมาเป็นกสิกรไทย ซึ่งให้เงื่อนไขดีมากๆ คือ วงเงินกู้ 22,000 บาท ไม่มีเงินดาวน์ ผ่อนชำระ 36 งวดๆ ละ 720 บาทในอัตราดอกเบี้ย 11%

วงเงินกู้ที่เพิ่มมานั้นคือค่าดำเนินการด้านต่างๆ ที่เป็นค่าใช้จริงของคุรุสภา ซึ่งทั้งหมดคุรุสภายืนยันว่า ไม่ได้กำไรอะไรทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวประกอบด้วย ค่าดำเนินการส่วนกลาง 50 บาท, ค่าดำเนินการของจังหวัด 50 บาท, ค่าหักเงินเดือน ณ ที่จ่าย 50 บาท, ค่าประกันชีวิต 230 บาท, ค่าจดทะเบียนยานพาหนะ 360 บาท ซึ่งรวมแล้วครูจะต้องจ่ายเพื่อซื้อรถในราคาเงินสดทั้งสิ้น 21,690 บาท ส่วนเงินผ่อนที่ครูต้องผ่อนกับกสิกรไทย รวมแล้วคือ 25,920 บาท

ขณะที่ราคาฮอนด้าดรีมในท้องตลาดคือ 27,000 ถึง 28,000 บาท ราคาเงินผ่อนคือดาวน์ 5,000 บาท ผ่อน 24 งวดๆ ละ 1,435 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 39,440 บาท

เห็นตัวเลขต่างกันขนาดนี้ ใครเล่าจะไม่สนใจโครงการของคุรุสภา

และคุรุสภาเองคงคาดไม่ถึงเสียด้วยซ้ำสำหรับยอดตัวเลขครูที่สั่งจองมอเตอร์ไซค์ซึ่งมากมายมหาศาลเช่นนี้ และตัวเอ.พี. ฮอนด้าที่ขายรถให้คุรุสภาก็คงยิ้มแก้มแทบปริเมื่อยอดขายโดยรวมทั้งหมด ฮอนด้าพุ่งขึ้นมาเป็นอันดับ 1….อะไรๆ มันก็ดูดีไปหมด ดีเสียจนมีโครงการอื่นๆ ตามมาอีกเป็นทิวแถว

ความต้องการของครูที่ทั้งคุรุสภาและเอ.พี.ฮอนด้าประเมินว่า น่าจะตกราวๆ 10,000 คัน แต่เมื่อสรุปโครงการแล้ว ตัวเลขมอเตอร์ไซค์ที่ขายผ่านคุรุสภาหยุดที่ 49,836 คัน

ถ้ามองจากตัวเลขจำนวนรถที่ขายผ่านคุรุสภาพอจะสรุปได้ว่า ทั้ง 4 โครงการที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จมากทีเดียว เพราะหนึ่ง-ครูได้รถ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการ สอง-ครูได้ซื้อรถในราคาถูกมากและยังได้ผ่อนแบบสบายๆ สาม-รถที่ครูได้รับจัดได้ว่าเป็นสินค้าดี
อย่างเช่นรุ่นดรีมที่ฮอนด้าเขาเอามาขายจัดได้ว่าเป็นที่ต้องการของตลาดมากทีเดียว ช่วงหนึ่งเคยมีคนวางเงินดาวน์รถรุ่นนี้แล้วก็เผ่นไปเลย เอาไปแยกชิ้นส่วนแล้วลักลอบไปขายที่เขมร ที่โน่นนิยมมากเพราะประหยัดน้ำมัน

คุรุสภายืนยันหนักแน่นว่า คุรุสภาไม่ใช่นักธุรกิจ ไม่ใช่พ่อค้า และไม่ใช่นายหน้า โครงการทั้งหมดทำตามนโยบายของคุรุสภาที่ต้องจัดสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของครูให้สะดวกสบายขึ้น ค่าดำเนินการทั้งหมดที่คุรุสภาบวกเข้าไปในการสั่งซื้อของครูก็เป็นค่าใช้จ่ายจริงที่ไม่ได้พึ่งงบประมาณของคุรุสภาเลย

เอ.พี.ฮอนด้าผู้ป้อนรถให้กับคุรุสภาเกือบ 5 หมื่นคันในช่วง 1 ปีนั้น ความลำบากของเอ.พี.ฮอนด้าอยู่ที่กำลังการผลิตที่ผลิตได้เดือนละ 15,000 ค้น แต่ต้องป้อนดีลเลอร์ทั่วประเทศ และผลิตหลายรุ่นหลายแบบ ไม่ใช่รุ่นดรีมเท่านั้น อีกทั้งตลาดทั้งปี 2531 มีการปรับราคารถไปถึง 3 ครั้ง แต่กับคุรุสภา เอ.พี.ฮอนด้ายืนราคาที่เสนอไว้แต่แรกมาตลอด

แต่ยอดขายเกือบ 50,000 คันที่เอ.พี.ฮอนด้าขายให้คุรุสภา เป็นตัวเลขที่สวยงามมาก เพราะตัวเลขตรงนี้มากพอที่จะทำให้ฮอนด้าก้าวขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งในยุทธจักรค้ามอเตอร์ไซค์เลยทีเดียว จำนวนรถ 49,836 คัน คูณกับราคารถคันละ 20,950 บาท เท่ากับ 1,044,064,200 บาท หรือพันกว่าล้านคือยอดเงินที่เอ.พี.ฮอนด้าได้รับ

ถ้าสมมติว่าสิ้นปีนี้ ยอดขายฮอนด้าคือ 120,000 คัน จำนวนรถที่เอ.พี.ฮอนด้าส่งมอบให้คุรุสภาเฉพาะในปี 2531 ตีเสียว่า 40,000 คันต่อ 120,000 คัน เท่ากับ 1/3 ของยอดขายทั้งปีของเอ.พี.ฮอนด้า แม้ว่าทางเอ.พี.ฮอนด้าจะกล่าวว่ายอดขายผ่านคุรุสภาจะเป็นเพียงตัวเลขบวก เป็นตลาดที่เพิ่มขึ้นมาเพียงชั่วคราวและฮอนด้าก็มีลูกค้ากลุ่มใหญ่กลุ่มอื่นๆ เหมือนกัน แต่สำหรับปีนี้ ปี 2531 ตัวเลขทั้งหมดก็คือความสำเร็จของฮอนด้าที่ทำเอาค่ายอื่นค้อนได้เหมือนกันในตอนนั้น

เกือบจะเป็นที่ยอมรับไปแล้วว่า รถเป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับชีวิต แม้จะไม่ได้รถเก๋ง ได้รถมอเตอร์ไซค์ไว้ก่อนก็ยังดี ทั้งราคาก็ถูกกว่าตามดีลเลอร์ตั้งมากมาย ใครจะอดใจไหวแถมเมื่อกสิกรไทยยืดเวลาการผ่อนชำระออกไปอีก แทนที่จะเป็น 24 เดือนดัง 3 โครงการแรกเป็น 36 เดือน ความต้องการซื้อก็เพิ่มขึ้น

และผลพลอยได้ที่เอ.พี.ฮอนด้าได้รับก็คือ ฐานะของครูเป็นที่ยอมรับมากในหมู่ชาวบ้านต่างจังหวัด เมื่อครูใช้สินค้าตัวใด ยี่ห้อใด ก็ย่อมได้รับความสนใจและยอมรับไปด้วย กลายเป็นงานประชาสัมพันธ์ที่เอ.พี.ฮอนด้าบอกว่า "ได้ผลค่อนข้างมาก" เรียกได้ว่า งานนี้เอ.พี.ฮอนด้าขายรถได้แล้ว ยังได้ผลข้างเคียงที่เสริมภาพพจน์ได้อย่างวิเศษอีกด้วย

ข้อมูลทั้งหมดผมได้จากน้าเดียว ไบค์ฮีโร่ ผู้ชายใจดี ขอบคุณน้าสำหรับข้อมูลดีๆครับ

HONDA Little Cub 14

มาดูรถไหม่อย่างเจ้า HONDA Little Cub 14 กันบ้างครับ


"ทายาทของเชื่อสาย Family ที่ยังไม่เลือนหายไป ปิดท้ายด้วยรถไหม่อย่างเจ้า Little Cub 14"
ถึงแม้ว่าจะเป็นรถไหม่แต่ก็คงหาดูตัวไม่ได้ง่าย ๆ เลยกับเจ้า Little Cub แถมเจ้าคันนี้ยังพกพามาพร้อมกับตูดมด Bagger Kit ชุดแต่งพิเศษจากโรงงานกับเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยตัวรถที่เล็กกระทัดรัด คู่กับบังลมใบสวยเข้ากับตัวรถที่มาพร้อมกับวงล้อ 14 นิ้วที่ขับขี่ง่ายคล่องตัวกับการใช้งานในเมือง ไฟเลี้ยวฝังอยู่กับชุดแฮนด์สวยงาม เบาะนั่งที่ไห้ความสูงกำลังพอดี ถังเชื่อเพลิงขนาดไหญ่ที่จุได้ถึง 4.5 ลิตร มาพร้อมฝาถังแบบล็อกได้ ติดเกจ์วัดระดับน้ำมันเพิ่มความมั้นใจของระดับน้ำมันเชื่อเพลิง ว่าเพียงพอต่อการขับขี่แต่ละครั้ง กับขุมกำลังขนาด 50 ซีซี ที่สามารถพาเจ้า Little Cub คันนี้ไปไหนมาไหนได้อย่างไม่เร่งรีบ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกถ้าคุณชื่นชอบความโมเดิ้ลในแบบ คลาสสิค แต่ยังหารถที่ชอบไม่ได้หรือไม่อยากลำบากตามหาอะไหล่ Little Cub 14 คงสามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างลงตัว ทีเดียวครับ

จากHonda Family#4


ข้อมูลต่างๆมาจาก กลุ่มอนุรักษ์รถโบราณเมืองไชยา